วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไตรยางค์


   
ไตรยางค์ หรือ อักษรสามหมู่ คือ การจำแนกตัวอักษรออกเป็น 3 หมู่  โดยการแยกตามเสียงของอักษรนั้นๆ คือ อักษรสูง  อักษรกลาง  และอักษรต่ำ  
ไตรยางค์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.  อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงสูงทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรสูงมีทั้งหมด 11 ตัว ได้แก่                     

การผันวรรณยุกต์

 คำเป็น

o    คำเป็นที่ใช้อักษรสูงเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขาว ฉัน ถู ผี ไฝ เสือ หู ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงเอก เช่น ขู่ ขี่ ฉี่ ถ่อม ผ่อน ใฝ่ เสื่อ โห่ ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น ไข้ ถ้า ผู้ ฝ้าย เสื้อ ห้า ฯลฯ
o    ไม่นิยมผันด้วยไม้ตรีและไม้จัตวา

คำตาย

o    คำตายที่ใช้อักษรสูงเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขบ ขด ขัด ฉุด ถัก ผัก ฝึก สด หาด ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น (มั่ก)ขั้ก ข้ะ ข้าก ฯลฯ
o    ไม่นิยมผันด้วยไม้เอก ไม้ตรี และไม้จัตวา

2.  อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงกลางทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรกลางมีทั้งหมด 9 ตัว   ได้แก่                         

การผันวรรณยุกต์

 คำเป็น 

o    คำเป็นที่ใช้อักษรกลางเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา จัง โดน ตอม ใบ ปา อาย ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงเอก เช่น กี่ จ่า แด่ ต่อ บ่อ ปู่ อ่วม ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น เก้า จ้าว ได้ ตั้ง บ้า เป้ อุ้ม ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้ตรี จะมีเสียงตรี เช่น แก๊ง จุ๊ย ดั๊ม ต๊อง เบ๊ ป๊า อุ๊ย ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้จัตวา จะมีเสียงจัตวา เช่น เก๋า จ๋า ดึ๋ง ต๋อม บ๋า ป๋อง เอ๋ง ฯลฯ

คำตาย

o    คำตายที่ใช้อักษรกลางเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กัด จิก เด็ก ตบ บก ปาก ออด ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น กู้ด จ้ะ ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้ตรี จะมีเสียงตรี เช่น ก๊ก จั๊ก โด๊บ โต๊ะ บั๊ก ฯลฯ
o    เมื่อผันด้วยไม้จัตวา จะมีเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ จ๋ะ ฯลฯ ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้จัตวากับคำตายที่เป็นอักษรกลาง
o    ไม่นิยมผันด้วยไม้เอก

3.  อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงต่ำทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน อักษรต่ำมีทั้งหมด 24 ตัว ได้แก่                                                                        
                        อักษรทั้ง 3 หมู่นี้จะมีวิธีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันแม้ว่าจะมีรูปสระหรือวรรณยุกต์กำกับก็ตามเช่น คำว่า น่า รูปวรรณยุกต์เป็นเสียงเอกแต่เสียงเป็นเสียงวรรณยุกต์โท ส่วนอักษรต่ำทั้ง 24 ตัวนี้ ยังแบ่งออกได้เป็น 2 พวก คือ อักษรคู่และอักษรเดี่ยว ดังนี้
§  อักษรคู่ มี 14 ตัว  ได้แก่  พ                                  
§  อักษรต่ำ มี 10 ตัว ได้แก่              

 การผันวรรณยุกต์

คำเป็น

·         คำเป็นที่ใช้อักษรต่ำเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา เงา ชิง ทำ นอน เรา ฯลฯ
·         เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงโท เช่น ค่า แช่ง ท่อน เน่า ล่อง ฯลฯ
·         เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงตรี เช่น ค้า ช้าง ซ้อม ทิ้ง น้ำ พ้อง ฯลฯ
·         ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้ตรีและไม้จัตวา

คำตาย

 คำตายสระเสียงยาว

·         คำตายที่ใช้อักษรต่ำเป็นพยัญชนะต้น และสะกดด้วยสระเสียงยาว จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น โคก ชาติ ทอด ภาพ ลีบ ฯลฯ
·         เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงตรี เช่น วี้ด ค้าบ ฯลฯ
·         เมื่อผันด้วยไม้จัตวา จะมีเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ม๋าด ฯลฯ ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้จัตวากับคำตายสระเสียงยาวที่เป็นอักษรต่ำ (บางตำราไม่ให้ใช้ไม้จัตวาในกรณีนี้เลย)
·         ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้เอกและไม้ตรี] คำตายสระเสียงสั้น
·         คำตายที่ใช้อักษรต่ำเป็นพยัญชนะต้น และสะกดด้วยสระเสียงสั้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงตรี เช่น คะ ชัก นก ทุบ เล็ก เพียะ ฯลฯ
·         เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงโท เช่น ค่ะ มั่ก ฯลฯ
o    กรณีนี้มีบางคำที่อาจกลายเป็นเสียงเอกในการสนทนา เช่น ค่ะขะ, น่ะหนะ, ย่ะหยะ, ล่ะหละ, ว่ะหวะ
·         เมื่อผันด้วยไม้จัตวา จะมีเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ม๋ะ ฯลฯ ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้จัตวากับคำตายสระเสียงสั้นที่เป็นอักษรต่ำ (บางตำราไม่ให้ใช้ไม้จัตวาในกรณีนี้เลย)
·         ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้โทและไม้ตรี